สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

              สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ ฯ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ณ เมืองเอดินบะระ ประเทศอังกฤษ เป็นพระธิดาพระองค์แรกในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระนามแรกประสูติตามที่โรงพยาบาลตั้งถวายคือ May ต่อมาเมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานตั้งพระนามว่า หม่อมหลวงเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา มหิดล (คำว่า “วัฒนา” ในพระนาม ทรงตั้งตามพระนามาภิไธยของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา และ ใน พ.ศ. ๒๔๗๘ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเฉลิมพระเกียรติเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ครั้นเมื่อทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ ใน พ.ศ. ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในตามธรรมเนียมราชประเพณีเป็นพระองค์แรกในรัชกาลทรง พระนามว่า สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

 

การศึกษา

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงเข้ารับการศึกษาชั้นต้นที่อนุบาลปาร์คสกูล (Park School) ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๙-๒๔๗๑ ในช่วงที่ตามเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก ซึ่งเสด็จไปทรงศึกษาวิชาการแพทย์ และรักษาพระองค์ที่บอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

เมื่อคราวตามเสด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนีกลับมาประทับในเมือง ไทย เมื่อช่วงพ.ศ. ๒๔๗๑-๒๔๗๖ ทรงเข้ารับการศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนราชินี ในปีพ.ศ. ๒๔๘๕ ทรงสำเร็จศึกษาจากมหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในสาขาวิทยาศาสตร์และเคมีวิชาการศึกษาวรรณคดี ปรัชญาและภาษา พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถยิ่งทางอักษรศาสตร์ทั้งภาษา อังกฤษและภาษาฝรั่งเศสเมื่อเสด็จนิวัติประเทศไทยหลังจากประทับอยู่ต่างประเทศนานกว่า ๒๐ ปี ได้ทรงรับคำกราบบังคมทูลเชิญจากสถาบันการศึกษาหลายแห่งเพื่อให้ทรงบรรยาย และเป็นพระอาจารย์ประจำสถาบันต่อเนื่องกันมาเป็นหลายปี แม้ว่าจะทรงงานการสอนมากมาย หากแต่พระราชกรณียกิจสำคัญที่ทรงปฏิบัติสือบเนื่องมาตั้งแต่แรก คือการตอบสนองพระราชประสงค์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยตามเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นธุรการดารทั่วประเทศ นอกจากการพระราชทานสิ่งของอำนวยความสะดวกเครื่องใช้ประจำวัน และยารักษาโรคจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ที่ตามเสด็จแล้ว สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯยังโปรดส่งเสริมการเรียนการสอนของโรงเรียนท้องถิ่น ต่าง ๆ ที่เสด็จถึงอีกด้วย

 

พระอัจฉริยภาพ

ในด้านการประพันธ์ พระนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเช่น เวลา เป็นของมีค่า แม่เล่าให้ฟัง เจ้านายเล็กๆยุวกษัตริย์ จุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ และพระนิพนธ์เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ที่เสด็จประพาส แต่สิ่งที่ไม่ใคร่มีผู้ใดทราบคือ ทรงมีพระปรีชาสามารถในการขับเครื่องบินปีก  ๒ ชั้น และทรงขับเฮลิคอปเตอร์ได้อีกด้วย ทรงโปรดสัตว์ทุกประเภท แต่ที่มีขนาดแหมะสมกับพระตำหนักคือสุนัข พระองค์ทรงรับคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไว้ในพระอุปถัมภ์ด้วย

ในด้านการกีฬา เมื่อครั้งสมเด็จพระพี่นางเธอฯ ทรงประทับศึกษาอยู่ในต่างประเทศ นอกจากทรงเอาพระทัยใส่ในการศึกษาเป็นอันมาก และโปรดการอ่านหนังสือในเวลาว่างแล้ว มักทรงกีฬาต่าง ๆ ร่วมกับพระราชมารดาและพระแนุชาเสมอ เป็นกีฬาที่ทรงมาแต่ครั้งยังพระเยาว์ โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงให้ครูชาวต่างชาติฝึกสอนให้พร้อมกับพระอนุชาทั้งสองพระองค์ นอกจากนี้ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯได้พระราชทานสัมภาษณ์ว่าเคยชอบขี้ม้าแต่ทรงมีกระแส รับสั่งปรารภว่า พื้นที่ที่ประทับไม่เอื้ออำนวยต่อการเลี้ยงม้า การทรงม้าของพระองค์ จึงเนื่องด้วยพระราชมารดาโปรดการทรงม้าอยู่บ่อยครั้ง ก่อนที่จะเลิกไปเพราะเจริญพระชนมายุมากขึ้น กีฬาอีกประเภทหนึ่งที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ทรงร่วมกับพระราชมารดา คือ เปตอง ตามพระราชดำริที่ว่ากีฬาเปตองนั้นเหมาะสมกับผู้สูงอายุและเป็นกีฬาที่ส่งเสริมความสามัคคี

 

พระราชกรณียกิจ

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้เสด็จทรงประพาสทั้งในและต่างประเทศ เพื่อบำเพ็ญพระกรณียกิจ เช่น โครงการแพทย์ พอสว. (สืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) และเพื่อทรงส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะที่มีเจ้าฟ้าหญิงที่ทรง บำเพ็ญพระกรณียกิจมหาศาลอย่างไม่รู้จักทรงเหนื่อยยากเพื่อความสุขของประชาชน ที่เราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนคือ การที่พระองค์ทรงสานต่อมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี(พอ.สว.) หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระราชชนนี (พอ.สว.) เป็นหน่วยแพทย์ที่สมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี ทรงก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ปฎิบัติงานโดยอาสาสมัครสนับสนุนออกไปให้การรักษาพยาบาลประชาชนในพื้นที่ธุร กันดารหลังจากที่เสด็จฯ เยี่ยมราษฏรตามพื้นที่ชนบทห่างไกล นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นต้นมา ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้ทรงเริ่มระบบการสื่อสารทางวิทยุ รับ-ส่ง มาใช้ให้คำปรึกษา และรักษาผู้ป่วย ซึ่งเรียกว่า “แพทย์ทางอากาศ” หรือ ที่ต่อมาเรียกว่า “แพทย์ทางวิทยุ” ( ปัจจุบันมูลนิธิ พอ.สว. ได้ดอนงานด้านระบบสื่อสารทางวิทยุให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ ) ต่อมาหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี ได้จดทะเบียนตั้งเป็น”มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี”(พอ .สว.)

              วัตถุประสงค์หลักของมูลนิธิ พอ.สว. คือจัดหาแลัส่งเสริมให้แพทย์ และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ปฎิบัติงานเพื่อช่วยเหลือให้การรักษาพยาบาลป้องกันโรค ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพอนามัยของประชาชนในท้องถิ่นธุรกันดาร หรือห่างไกลคมนาคม หน่วยแพทย์อาสาของมูลนิธิ พอ.สว. จึงสามารถใช้ประโยชน์จากระบบโทรคมนาคมสนับสนุนในการออกหน่วยปฎิบัติงานใน ท้องถิ่นและขณะเดียวกันระบบสาธารณสุขทางไกลของกระทรวงสาธารณสุขก็สามารถที่ จะขอรับการสนับสนุนจากแพทย์อาสาสมัครของมูลนิธิ ฯ ในการเป็นผู้ให้คำปรึกษาการแพทย์ทางไกลแก่หน่วยงานในโครงการด้วย

ที่มา : http://www.thaimonarch.org/?p=102




       

โปรแกรมนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2
209/1 หมู่ 3 ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา 038 - 551456 ต่อ 27 : version 2.2.0 e-mail: ผู้พัฒนา tecs4online@gmail.com