สังคมวิทยา
เป็นศาสตร์ที่ศึกษาและอธิบายพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์
ด้วยวิธีการแบบวิทยาศาสตร์ ศึกษารูปแบบกระบวนการและผลของการกระทำระหว่างกันของคนในสังคม ชุมชน องค์การ กลุ่มคนไปจนถึงสถาบันสังคมแบบต่าง ๆ
การศึกษาสังคมสังคมวิทยามีกลุ่มวิชาต่าง ๆ เช่น
|
กลุ่มวิชาทฤษฎีและระเบียบวิธี
|
|
กลุ่มวิชาจิตวิทยาสังคม
|
|
กลุ่มวิชาจิตวิทยาสังคม
|
|
กลุ่มวิชาประชากรชุมชนและสิ่งแวดล้อม
|
|
กลุ่มการจัดระเบียบทางสังคม
|
|
กลุ่มความเบี่ยงเบน และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
|
มานุษยวิทยา
ศึกษาเกี่ยวกับตัวมนุษย์ ผลงานของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ
เช่น ภาษาวัฒนธรรม ตลอดจนพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน
การศึกษามานุษยวิทยา ในคณะแบ่งออกเป็นกลุ่มวิชาใหญ่ ๆ คือ
|
กลุ่มวิชาทฤษฎี |
|
กลุ่มวิชาระเบียบวิธี |
|
กลุ่มวิชาวัฒนธรรมและสังคมวิเคราะห์ |
|
กลุ่มวิชาของวัฒนธรรม |
|
กลุ่มวิชาโบราณคดี และพิพิธภัณฑ์ และ |
|
กลุ่มวิชามานุษยวิทยาชีวภาพ |
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ผู้ที่ศึกษาสามารถจบทั้ง ม.ปลาย สายวิทยาศาสตร์ และสายศิลป์
มีความสนใจที่จะศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์
แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้สำเร็จการศึกษาด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาสามารถทำงานใน
ด้านต่าง ๆ เช่น งานวิจัย งานด้านการวางแผนหรือวิเคราะห์นโยบาย และงานสอนหนังสือ เป็นต้น
ส่วนงานอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้ความรู้ทางสังคมวิทยาโดยตรง ได้แก่ งานฝึกอบรมหรือการประชุม งานบริหาร เช่น ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ เซลล์แมน งานข่าว เช่น พนักงานข่าวกรอง ผู้สื่อข่าว พนักงานวิทยุ
งานธุรการ เช่นReceptionist เจ้าหน้าที่สโมสร
งานฝ่ายบุคคล ทั้งในหน่วยงานของรัฐบาล หน่วยงานเอกชนและรัฐวิสาหกิจ องค์การพัฒนาเอกชน และมูลนิธิต่าง ๆ
เช่น โครงการสมุนไพร เพื่อการพึ่งตนเอง สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม ฯลฯ
|