คณะประมง

ใช้เวลาในการเรียน 4 ปี โดยแบ่งออกเป็นสาขาต่างๆ ดังนี้

สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย การจัดการประมง ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรประมง ฟาร์มสัตว์น้ำ ธุรกิจการประมง และการพัฒนาชุมชนประมงพื้นบ้าน กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประมง องค์การที่ทำหน้าในการจัดการพัฒนาการประมง นโยบายและแผนพัฒนาการประมง
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย ชีววิทยาประมง ศึกษาเกี่ยวกับแหล่งน้ำ ทรัพยากรสิ่งมีชีวิตในน้ำ ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์น้ำ บทบาทและความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในน้ำกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการจัดการทรัพยากร การแก้ไขปัญหาการประมง สิ่งแวดล้อมทางน้ำ รวมไปถึงการพัฒนาการ ประมงที่ยั่งยืน การศึกษาอันหลากหลายครอบคลุมความรู้พื้นฐานในสาขาการประมงอย่างทั่วถึงในทุกระบบนิเวศของแหล่งน้ำ
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การผลิตอาหารสัตว์น้ำ การจัดการคุณภาพน้ำและดินในบ่อเลี้ยงสัตว์ การจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ พันธุศาสตร์สัตว์น้ำและการปรับปรุงพันธุ์ และวิศกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย ผลิตภัณฑ์ประมง ศึกษาเกี่ยวกับเทคโลยีการเก็บรักษาและแปรรูปสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากแหล่งน้ำ การใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตในน้ำ การใช้ประโยชน์จากของเสียและผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ และวิศวกรรมการเก็บรักษาและแปรรูปสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากแหล่งน้ำ
สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย วิทยาศาสตร์ทางทะเล ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของชีวภาพทางทะเล นิเวศวิทยาทางทะเลและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในทะเลกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งทางเคมี ฟิสิกส์ และสิ่งมีชีวิตด้วยกัน สมุทรศาสตร์เคมี ชีวและฟิสิกส์ มลภาวะในทะเล การประเมินสภาพแวดล้อมทางทะเลและมหาสมุทร เทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล การใช้ประโยชน์ทรัพยากรในทะเลอย่างยั่งยืนและด้วยความรับผิดชอบ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

ควรมีพื้นฐานความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ค่อนข้างดีโดยเฉพาะวิชาชีววิทยาทางทะเล นิเวศวิทยาทางทะเลและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในทะเลกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งทางเคมี ฟิสิกส์ มลภาวะในทะเล การประเมินสภาพแวดล้อมทางทะเลและมหาสมุทร เทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล การใช้ประโยชน์ทรัพยากรในทะเลอย่างยั่งยืนและด้วยความรับผิดชอบ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ควรมีพื้นฐานความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ค่อนข้างดีโดยเฉพาะวิชาชีววิทยา

แนวทางในการประกอบอาชีพ

ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถรับราชการ ในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
และงานในภาคเอกชน เช่น กรมประมง บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม
บริษัทจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ บริษัทร่วมทุนทำประมงระหว่างประเทศ บริษัทเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม หรือประกอบอาชีพส่วนตัว
เป็นต้น


เขียนเมื่อ 2018-10-10 15:07:39  ผู้เขียน admin



       

โปรแกรมนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2
209/1 หมู่ 3 ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา 038 - 551456 ต่อ 27 : version 2.2.0 e-mail: ผู้พัฒนา tecs4online@gmail.com