/td>


 

         นับเป็นเวลากว่า 70 ปี ที่คนไทยได้รับความรักจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชผ่านพระราชกรณียกิจต่างๆ ของพระองค์ เช่นเดียวกับพระราชกรณียกิจด้านการศึกษา ดังที่ปรากฎเด่นชัดในพระบรมราโชวาทหลายครั้ง สะท้อนให้เห็นถึงความรักความห่วงใยที่ทรงอยากให้อนาคตของประเทศไทยเติบโตอย่างงดงามพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำริในเรื่องการศึกษาว่านอกจากจะเป็นคนเก่งแล้ว เหนืออื่นใดต้องเป็นคนดี ดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานในโอกาสวันเด็กปี พ.ศ. 2530 ว่า

      “เด็กนอกจากจะต้องเรียนความรู้แล้ว ยังต้องหัดทำการงานและการทำความดีด้วย เพราะการทำงานจะช่วยให้มีความสามารถ มีความขยัน อดทน พึ่งตนเองได้ และการทำความดีนั้นจะช่วยให้มีความสุขความเจริญ ทั้งป้องกันตนไม่ให้ตกต่ำ”
ในปี พ.ศ. 2555 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงรับสั่งให้จัดตั้งกองทุนการศึกษาขึ้น อันเป็นโครงการพระราชดำริโครงการสุดท้าย และตั้ง “โรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม” เพื่อสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง ดังรับสั่งที่มีกับคณะองคมนตรีว่า
“ฉันจะตั้งกองทุนการศึกษา ให้เอาเงินฉันไปใช้ ไปทำอย่างไรก็ได้ เป้าหมายคือให้โรงเรียนสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง”

        และเพื่อให้โรงเรียนคุณธรรมจริยธรรม ประสบความสำเร็จ คณะกรรมการกองทุนฯ จึงแบ่งขั้นตอนออกเป็น 6 ขั้นตอน คือ
1. การสร้างความยอมรับจากทุกภาคส่วนในโรงเรียนร่วมกัน ตกลงกันทั้ง ผู้บริหาร ครู และนักเรียน รับรู้ว่าเราต้องการจะเปลี่ยนโรงเรียนให้ดีขึ้น
2. ร่วมกันระดมความคิด ทำบัญชีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในช่วง 2-3 ปีที่ได้พบเห็นมา รวมทั้งพฤติกรรมพึงประสงค์ที่อยากจะเห็นในรอบ 12 เดือน มองให้ครบอย่าง 360 องศา ทั้งครู นักเรียน และผู้บริหาร ก่อนจะไปหาความถี่ของทั้งสองสิ่ง
3. ให้ทุกคนลองคิดว่าหากต้องการให้มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ จะใช้คุณธรรมใดมาแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้
4. เมื่อได้คุณธรรมที่ทุกคนตกลงกันแล้ว เช่น ความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ จิตอาสา ให้คิดโครงการที่จะทำให้มีคุณธรรมเหล่านี้มากขึ้นใน 1 ปีต่อจากนั้น เช่น ผู้บริหารคิดว่าจะทำให้การจัดซื้อจัดจ้างจะโปร่งใสมากขึ้น ครูจะไม่เบียดเบียนเวลาราชการ นักเรียนบอกจะไม่ลอกการบ้านเพื่อน กลับบ้านไหว้พ่อแม่ ไม่เที่ยวกลางคืน ดูหนังสือรับผิดชอบ
5. เมื่อได้นโยบายแล้ว ให้ทุกคนประกาศสิ่งที่จะทำให้คนอื่นฟัง พูดเองโดยไม่มีคนบังคับ ให้เขาได้แสดงความรับผิดชอบเอง ก็จะปฏิบัติกันจริง
6. ขั้นสุดท้ายคือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและการทำให้ยืนยาว ซึ่งเราเห็นได้ชัดว่าเปลี่ยนแปลงจริงผลสำเร็จของโครงการนี้ แรกเริ่มคือสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนดีขึ้นร่มรื่น เพราะมีชมรมจิตอาสาของเด็กๆ ช่วยดูแล ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและนักเรียนดี รู้จักรับผิดชอบตัวเอง เด็กมีวินัย ปฏิบัติตามข้อตกลง และกฎระเบียบต่างๆ ของโรงเรียน ผลพลอยได้คือผลการสอบโอเน็ตของเด็กดีขึ้น เป็นเพราะคนเก่งก็ช่วยเพื่อน แนะนำเพื่อน โรงเรียนได้รับรางวัลต่างๆ มากขึ้น ทำให้ชุมชนเกิดความตื่นตัวอยากเข้าช่วยดูแลบุตรหลานในโรงเรียนด้วย
ปัจจุบันมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการกว่า 155 โรงเรียน กระจายครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศไทย

        ผลสำเร็จของโครงการนี้ แรกเริ่มคือสิ่งแวดล้อมของ โรงเรียนดีขึ้น ร่มรื่น เพราะมีชมรมจิตอาสาของเด็กๆ ช่วยดูแล ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและนักเรียนดี รู้จักรับผิดชอบตัวเอง เด็กมีวินัย ปฏิบัติตามข้อตกลง และกฎระเบียบต่างๆ ของโรงเรียน ผลพลอยได้ที่เราไม่คาดหวังคือผลการสอบโอเน็ตของเด็กเหล่านี้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับสัดส่วนเดิมที่มีเพียง 5% ของเด็กที่จะเก่ง นั่นเป็นเพราะคนเก่งก็ช่วยเพื่อน แนะนำเพื่อน และก็เก่งขึ้นไปด้วยกัน โรงเรียนยังได้รับรางวัลต่างๆ มากขึ้น ทำให้ชุมชนเกิดความตื่นตัวอยากเข้ามาช่วยดูแลบุตรหลานในโรงเรียนด้วย

    ทั้งยังกล่าวต่อว่า จากความสำเร็จที่ผ่านมา ทำให้โรงเรียนโดยรอบ อยากจัดให้มีระบบเช่นนี้บ้าง ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา จึงก่อตั้งมูลนิธิยุวสถิรคุณขึ้น ขยายโครงการนี้ต่อปีนี้กว่า 3,000 โรงเรียน ตามรูปแบบที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้สร้างไว้ ขยายไปยังโรงเรียนอาชีวะ อำเภอคุณธรรม โรงพยาบาลคุณธรรมทั่วประเทศ โรงเรียนแพทย์ และบริษัทต่างๆ ต่อไปอีก

“เรื่องที่จะสร้างคนดีขอให้เป็นหน้าที่ การสร้างคนดีนั้นเป็นเรื่องยากและยาว ต้องเอาอาสาสมัครมาช่วยทำเยอะๆ”


       

โปรแกรมนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2
209/1 หมู่ 3 ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา 038 - 551456 ต่อ 27 : version 2.2.0 e-mail: ผู้พัฒนา tecs4online@gmail.com